โทรทัศน์ในประเทศไทย
เดินหน้าสู่ดิจิทัลทีวี
March 03, 2017
โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย (อังกฤษ: Digital television in Thailand) เป็นระบบโทรทัศน์ดิจิทัลภายในอาณาเขตประเทศไทย โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง กำหนดระยะของการทดลองออกอากาศไว้ ระหว่างวันอังคารที่ 1 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557 ก่อนจะกำหนดเวลาให้ผู้ประกอบการทุกราย เตรียมความพร้อมขั้นสุดท้าย เพื่อเริ่มออกอากาศในส่วนกลาง ระหว่างวันศุกร์ที่ 25 เมษายน ถึงวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
โทรทัศน์ไทยในกระแสทุนนิยม
January 01, 2020
หลังจากพระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551แล้ว สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ทำหนังสือถึงกรมประชาสัมพันธ์ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรมประชาสัมพันธ์จึงออกหนังสือคำสั่งที่ 25/2551 เพื่อให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ยุติการออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 00.08 น. ของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551
ฝ่ายุคทมิฬ สู่การกำเนิดทีวีเสรี
March 03, 2017
สืบเนื่องจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ประชาชนทั่วไปเชื่อกันว่า มีการใช้อำนาจรัฐในขณะนั้น เพื่อบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมขับไล่รัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร จึงทำให้ผู้ชมโทรทัศน์ของภาครัฐ ไม่สามารถรับรู้ความเป็นจริง เกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองขณะนั้นได้ตามปกติ รัฐบาลหลังจากนั้นจึงมีดำริในการจัดตั้ง สถานีโทรทัศน์เสรี เพื่อนำเสนอข่าวสารและสาระความรู้ ไปสู่ประชาชนทั่วประเทศ ด้วยการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเช่าสัมปทาน เพื่อให้มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง
รากฐานโทรทัศน์แห่งชาติ
March 03, 2017
วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดทำโครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของราชการสู่ประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ตลอดจนเป็นแม่ข่ายให้แก่โทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ โดยกรมประชาสัมพันธ์เริ่มดำเนินการดังกล่าว ด้วยการเคลื่อนย้ายเครื่องส่งโทรทัศน์สี จากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เข้ามาติดตั้งภายในอาคารศูนย์ระบบโทรทัศน์ ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร เพื่อทดลองออกอากาศ ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมากช่วงสูง ทางช่องสัญญาณที่ 11 เมื่อราวต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 ภายใต้ชื่อ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) ก่อนจะแพร่ภาพเป็นประจำทุกวัน ระหว่างเวลา 16:30-21:00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2529
สู่ยุคโทรทัศน์สี
March 03, 2017
เนื่องจากแต่เดิม ประเทศไทยใช้ระบบแพร่ภาพ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ดังที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าเพียง 110 โวลต์ แต่ไทยใช้กำลังไฟฟ้า 220 โวลต์ เช่นเดียวกับในทวีปยุโรป จึงต้องใช้เครื่องแปลงความถี่ไฟฟ้า เพื่อให้เข้าใช้กับเครื่องส่ง และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ทั้งหมดได้ นับว่าสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ คณะรัฐมนตรีจึงลงมติให้ทยอยดำเนินการ ปรับปรุงระบบแพร่ภาพเป็น 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที ดังที่ใช้ในทวีปยุโรป ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าเท่ากับที่ใช้ในไทย เพื่อลดความซับซ้อนต่อการออกอากาศลง โดยให้ดำเนินการเปลี่ยนผ่านคู่ขนานกันไป เพราะแม้ทั้งสองระบบดังกล่าว จะใช้คลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมากเช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่รบกวนการออกอากาศซึ่งกันและกัน และยังใช้เครื่องรับสัญญาณที่ต่างกันด้วย หากใช้เครื่องรับโทรทัศน์ระบบเดิม ก็สามารถติดตั้งตัวรับสัญญาณระบบใหม่เพิ่มเติม เพื่อรับชมช่องรายการในระบบใหม่เป็นภาพขาวดำได้
ก่อกำเนิดช่อง 4 บางขุนพรหม
March 03, 2017
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เลือกใช้ ระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ซึ่งใช้อยู่ในสหรัฐอเมริกา เป็นผลให้ บจก.ไทยโทรทัศน์ จัดซื้อเครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ ของบริษัท เรดิโอ คอร์ปอเรชั่น ออฟ อเมริกา (Radio Corporation of America) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อย่อว่า อาร์.ซี.เอ. (RCA) มาใช้สำหรับการออกอากาศ และวางแผนดำเนินการแพร่ภาพ ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 4 ซึ่งเมื่อรวมกับชื่อสถานที่ตั้งสถานีฯ ดังกล่าวข้างต้น ในระยะต่อมา ผู้ชมทั่วไปจึงนิยมเรียกชื่อลำลองว่า ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งมีกำหนดเริ่มแพร่ภาพ ในวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งตรงกับวันชาติของไทยในสมัยนั้น
โดยมีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (อังกฤษ: Thai Television Channel 4 ชื่อย่อ: ไทย ที.วี. ชื่อรหัส: HS1-TV) ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกของทวีปเอเชีย บนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental)
จุดกำเนิดโทรทัศน์ไทย
March 03, 2017
ประเทศไทยเริ่มต้นรู้จัก สิ่งที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Television” เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2492 สรรพสิริ วิรยศิริ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของกรมประชาสัมพันธ์ เขียนบทความขึ้นบทหนึ่ง เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับ “วิทยุภาพ” อันเป็นเทคโนโลยีสื่อสารชนิดใหม่ของโลก ต่อมากรมประชาสัมพันธ์ ส่งข้าราชการของกรมฯ กลุ่มหนึ่ง ไปศึกษางานวิทยุโทรภาพที่สหราชอาณาจักร ในราวปี พ.ศ. 2493 เมื่อเล็งเห็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติ กรมประชาสัมพันธ์จึงนำเสนอ “โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ” ต่อจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล เมื่อปี พ.ศ. 2494 แต่เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนมาก แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง ต่องบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์ จึงจำเป็นต้องยุติโครงการดังกล่าวลง